การประกวดเว็บไซต์ ปี พ.ศ. 2567

การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การสร้างเว็บไซต์ด้วยชื่อโดเมน .th และ .ไทย” จัดขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้สอนในระบบการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ครู ศึกษานิเทศน์ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือบุคลกรทางการศึกษาอื่น ภายใต้โจทย์การสร้างเว็บไซต์

ผู้ที่ผ่านการอบรม จะมีสิทธิเข้าร่วมการประกวดเว็บไซต์ ประกอบด้วย
1) การประกวดรอบระดับศูนย์อบรม จำนวนรวมทั้งสิ้น 21 ศูนย์อบรม  เพื่อคัดเลือกผู้ชนะเลิศ 11 คน และ
2) การประกวดรอบระดับประเทศ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้ง 11 คน (ผู้ชนะเลิศศูนย์อบรมหลัก 10 คน และศูนย์อบรมย่อยทั้งหมดเพียง 1 คน)
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศลำดับที่ 1 และ 2 จะได้รับเชิญเข้าร่วมงานมอบรางวัลในกรุงเทพมหานครในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ดังรายละเอียดในหัวข้อการประกวดเว็บไซต์

โจทย์การสร้างเว็บไซต์

โจทย์บังคับในการสร้างเว็บไซต์ 

1. มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สำหรับผู้สอนและ/หรือผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. กลุ่มเป้าหมายหลักของเว็บไซต์ คือ ครูและนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. แนวทางการสร้างเว็บไซต์ภายใต้โจทย์การประกวด ได้แก่
เว็บไซต์แหล่งข้อมูลการจัดการเรียนรู้” ตามความถนัดของผู้ประกวด
เว็บไซต์ห้องเรียนออนไลน์” สำหรับนักเรียนในชั้นเรียนของตนเอง และนักเรียนทั่วไป

ข้อกำหนดบังคับ

1. ตั้งชื่อโดเมน .in.th และ .ไทย เป็น URL ของเว็บไซต์ โดยผู้เข้ารับการอบรมแต่ละคนจะได้รับสิทธิใช้งานชื่อโดเมน ฟรี เป็นระยะเวลา 2 ปี
2. สร้างเว็บไซต์โดยใช้ Google Sites
3. มีเนื้อหาเว็บไซต์ขั้นต้นที่เปิดให้สาธารณะเข้าถึงได้ก่อนถึงกำหนดวันประเมินผลการสร้างเว็บไซต์
4. ใช้โค้ดเก็บสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Google Analytics) ที่กำหนดให้
5. แสดงข้อมูลการติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ โดยอย่างน้อยต้องมีอีเมลติดต่อ
6. ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของผู้อื่นในการนำข้อมูลหรือสื่อประกอบการจัดทำเนื้อหาเว็บไซต์มาจากแหล่งอื่น หากมีการนำมาใช้จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้องชัดเจน
7. ไม่จัดทำหรือนำเข้าเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย และเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับวัยนักเรียน
8. สร้างเว็บไซต์ให้ได้ครบถ้วนตามเกณฑ์บังคับในการประเมินผลการอบรม จึงจะผ่านการอบรมและได้รับวุฒิบัตร

ข้อกำหนดทางเลือก (ไม่บังคับ)

1. การใส่ข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมเว็บครู.ไทย ผู้จัดกิจกรรม และผู้สนับสนุน  ตัวอย่างเช่น ใส่แบนเนอร์กิจกรรม ใส่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์กิจกรรม เขียน blog เกี่ยวกับกิจกรรม เป็นต้น
2. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และความปลอดภัยในการใช้งานชื่อโดเมนรหัสประเทศไทย .th และ .ไทย

การประกวดเว็บไซต์ 

เกณฑ์ตัดสินการประกวดแข่งขันเว็บไซต์ระดับศูนย์อบรม

ผู้ที่ผ่านการอบรมจะมีสิทธิ์เข้าประกวดแข่งขันเว็บไซต์ ซึ่งมีเกณฑ์ตัดสินการประกวด 3 เกณฑ์ ดังนี้

เกณฑ์ที่ 1 : เว็บไซต์ยอดนิยม (Vote) คะแนนเต็ม 15 (สัดส่วน 15%)

1. ใช้กติกาและเกณฑ์ให้คะแนนจากการไลก์ & แชร์ ภายในระยะเวลาที่กำหนด 10 วัน (นับถัดจากวันสิ้นสุดระยะเวลาสร้างเว็บไซต์)
2. ใช้วิธีการรวบรวมผลโหวต จากโพสที่ผู้จัดกิจกรรมกำหนดไว้
      a) เว็บไซต์ที่เข้าประกวดแข่งขันทั้งหมดจะได้รับการเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ เว็บครู.ไทย เพื่อให้ผู้เข้าชมโหวตเว็บไซต์ที่ถูกใจ
      b) ผู้เข้าแข่งขันสามารถร่วมประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของตนเองได้โดยไม่จำกัดช่องทาง
3. กด Like (หรือ Emotion อื่น) = 1 แต้ม กด Share = 2 แต้ม โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
      5 คะแนน  มีจำนวนกดไลค์ กดแชร์ รวมกัน ตั้งแต่ 1 - 99 แต้ม
      10 คะแนน  มีจำนวนกดไลค์ กดแชร์ รวมกัน ตั้งแต่ 100 - 299 แต้ม
      15 คะแนน  มีจำนวนกดไลค์ กดแชร์ รวมกัน ตั้งแต่ 300 แต้มขึ้นไป
4. นับคะแนนจากสื่อโซเชียลมีเดียหลักของผู้จัดการประกวดเท่านั้น
5. เนื่องจากไม่มีการจำกัดสิทธิผู้ร่วมโหวต ทั้งนี้ หากตรวจพบการเพิ่มไลค์แบบไม่ปกติ (ปั๊มไลค์ ปั๊มแชร์) กรรมการจะตัดสิทธิ์การประกวดทันที

เกณฑ์ที่ 2 :  เว็บไซต์ที่เข้าถึงและโดนใจกลุ่มเป้าหมาย (Engagement) คะแนนเต็ม 15 (สัดส่วน 15%)

1. ใช้วิธีการอ้างอิงสถิติการเข้าชม การรับรู้และการมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ (Engagement) ของ Google Analytics
      a) ผู้เข้าแข่งขันต้องดำเนินการให้เว็บไซต์ของตนเองเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
      b) ผู้จัดการประกวดแข่งขันจะร่วมประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ทั้งหมดไปสู่สาธารณะ
2. ใช้เกณฑ์ให้คะแนนจากสถิติ Engagement ของ Google Analytics  ภายในระยะเวลาที่กำหนด 30 วัน ดังนี้
      5 คะแนน  มีสถิติ Engagement ตั้งแต่ 1 - 99 Engagement
      10 คะแนน  มีสถิติ Engagement ตั้งแต่ 100 - 999 Engagement
      15 คะแนน  มีสถิติ Engagement ตั้งแต่ 1,000 Engagement ขึ้นไป

เกณฑ์ที่ 3 : เว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนยอดเยี่ยม คะแนนเต็ม 70 (สัดส่วน 70%)

ใช้การตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยพิจารณารายละเอียดแต่ละส่วนของเกณฑ์การพิจารณาตัดสิน คือ

ส่วนที่ 1 ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ (คะแนนเต็ม 10)
เว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่อง สามารถติดต่อผู้จัดทำเว็บไซต์ได้ (มีตัวตน) ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ไม่นำเข้าข้อมูลเท็จ 

ส่วนที่ 2 ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ (คะแนนเต็ม 20)
การออกแบบเว็บไซต์ต้องผสมผสานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ที่ดึงดูดความสนใจ โครงสร้างหน้าเว็บ การออกแบบเนื้อหา รวมถึงการเลือกใช้ตัวอักษร สีสัน กราฟิก และสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ต้องสบายตาและสามารถสร้างความประทับใจได้โดยง่าย 

ส่วนที่ 3 เนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอ (คะแนนเต็ม 25)
เนื้อหาเว็บไซต์จัดเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องมีเทคนิคการนำเสนอเนื้อและเรื่องราวอย่างเหมาะสมกลมกลืน มีความเอาใจใส่ต่อผู้เรียน ใช้งานง่าย มีความสม่ำเสมอ มีความทันสมัย มีเอกลักษณ์ และดึงดูดความสนใจให้กลับมาใช้งาน   

ส่วนที่ 4 ประโยชน์ต่อการนำไปใช้ (คะแนนเต็ม 15)
เว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยไม่จำกัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น ต้องสามารถเชื่อมโยงไปยังสื่อออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ และเป็นต้นแบบต่อผู้อื่นได้ 

เกณฑ์ตัดสินการประกวดแข่งขันเว็บไซต์ระดับประเทศ

1. ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับศูนย์อบรมหลักจำนวน 10 คน และผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับศูนย์ย่อย 1 คน จะได้รับสิทธิ์เข้าประกวดผลงานรอบระดับประเทศ (กรณีสละสิทธิ์ ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 จะได้รับสิทธิ์แทน)
2. เกณฑ์การตัดสินจะเป็นไปในลักษณะเดียวกับรอบระดับศูนย์อบรม นอกจากนี้ ผู้จัดการประกวดจะแจ้งโจทย์การสร้างเว็บไซต์ของรอบระดับประเทศให้ผู้เข้าประกวดทราบในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567  ตลอดจนรายละเอียดและกำหนดการต่าง ๆ ให้ผู้เข้าประกวดทราบ
3. ผู้เข้าประกวดต้องดำเนินการสร้างเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ในข้อ 2. ภายในระยะเวลาที่กำหนด
4. กำหนดการตัดสินการประกวดและจัดงานมอบรางวัลขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567

การให้รางวัลระดับศูนย์อบรม รวม 33 รางวัล คิดเป็นมูลค่า 132,000 บาท แบ่งเป็น

การให้รางวัลระดับประเทศ รวม 6 รางวัล คิดเป็นมูลค่า 110,000 บาท แบ่งเป็น

หน่วยงานต้นสังกัด เช่น โรงเรียน หรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ผู้ชนะการประกวดสังกัดอยู่ ณ เวลาที่ประกาศรางวัล 

การตัดสินและการประกาศผล

1. ผู้จัดการประกวดจะรวบรวมคะแนนจากทั้ง 3 เกณฑ์ และผลการตัดสินถือเป็นเด็ดขาด ผู้เข้าประกวดจะอุทธรณ์มิได้
2. การประกาศผลประกวดเว็บไซต์
      - กำหนดประกาศผล
            รอบระดับศูนย์หลัก: หลังคณะกรรมการรับรองผลของแต่ละศูนย์
            รอบระดับศูนย์ครูผู้นำรุ่นที่ 1 : ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567
            รอบระดับประเทศ: ภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567
      - ประกาศผลตัดสินการประกวดให้สาธารณะทราบทางเว็บไซต์ เว็บครู.ไทย และแจ้งให้ผู้ชนะการประกวดทราบโดยตรงทางอีเมล
      - วิธีมอบรางวัล
            รอบระดับศูนย์: มอบเงินรางวัลและใบประกาศเกียรติคุณผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์
            รอบระดับประเทศ: จัดงานมอบรางวัลในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567
3. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบหากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ และมูลนิธิฯ สงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการให้รางวัลสำหรับผลงานที่เชื่อว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานภายหลังว่าผลงานที่ได้รับรางวัลดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเป็นการคัดลอกผลงานผู้อื่นมา มูลนิธิฯ จะเรียกคืนรางวัลทั้งหมดและตัดสิทธิ์การส่งผลงานเข้าประกวดตลอดไป

เงื่อนไขอื่น

1. คำตัดสินของผู้จัดกิจกรรมคณะกรรมการตัดสินการประกวดถือเป็นที่สิ้นสุด และผูกพันกิจกรรมและของรางวัลต่าง ๆ โดยไม่สามารถโต้แย้งได้
2. ผู้จัดกิจกรรมมีสิทธิ์ในการพิมพ์และ/หรือเผยแพร่รายชื่อ รูปถ่าย ของผู้ร่วมกิจกรรม และหรือผู้ชนะการประกวดทุกประเภท เพื่อการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ ทั้งในปัจจุบันและ/หรือในอนาคต โดยไม่ต้องบอกกล่าวใด ๆ ต่อผู้ร่วมกิจกรรม โดยผู้ร่วมกิจกรรมไม่มีสิทธิ์เรียกค่าตอบแทนในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม
3. หากคณะกรรมการตัดสินการประกวดพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ร่วมกิจกรรมท่านใดมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกิจกรรม คณะกรรมการมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการพิจารณาตัดสิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้นั้น
4. ผู้จัดกิจกรรมคณะกรรมการตัดสินการประกวดมีสิทธิ์เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกกฎ กติกา เงื่อนไข และการให้รางวัลตามความเหมาะสมเมื่อใดก็ได้